ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ผลตรวจฟิลเลอร์ พบร้อยละ 27.3 เป็นผลิตภัณฑ์ปลอม
  • 5.7.2016
  • 6,308
ผลตรวจฟิลเลอร์ พบร้อยละ 27.3 เป็นผลิตภัณฑ์ปลอม

ปัจจุบันสถานเสริมความงามมีการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดเพื่อลดริ้วรอย ที่มักเรียกกันว่า การฉีดฟิลเลอร์ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีหลากหลายชื่อการค้า แต่มีส่วนประกอบหลัก คือ กรดไฮยาลูรอนิก กรดดังกล่าวมีคุณสมบัติในการเก็บกักน้ำได้ดีจึงช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น อย่างไรก็ดี กรดไฮยาลูรอนิกเป็นสารที่ร่างกายมนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้เอง โดยพบได้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง เส้นเอ็นต่างๆ

 

กรดไฮยาลูรอนิกมีราคาค่อนข้างแพง จึงมีการลักลอบใช้ผลิตภัณฑ์ปลอมในสถานเสริมความงามบางแห่ง ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ว่ามีกรดไฮยาลูรอนิกจริง ตามที่อ้างไว้ ดังนั้น สำนักยาและวัตถุเสพติดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้พัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ปฏิกิริยาคาร์บาโซลเพื่อใช้เป็นวิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมความงามชนิดฉีดที่มีการระบุว่ามีกรดไฮยาลูรอนิกเป็นส่วนประกอบ

 

จากการตรวจวิเคราะห์ของกลางที่ได้รับจำนวน 27 ตัวอย่างประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 5 ตัวอย่าง และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน 22 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมความงามชนิดฉีดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตรวจพบกรดไฮยาลูรอนิกร้อยละ 100 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตรวจไม่พบกรดไฮยาลูรอนิกตามที่กล่าวอ้างไว้ถึงร้อยละ 27.3 แสดงให้เห็นว่า สถานเสริมความงามบางแห่งในประเทศไทยมีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามชนิดฉีดที่ไม่มีกรดไฮยาลูรอนิกเป็นองค์ประกอบตามที่ระบุในฉลาก ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพนอกจากไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ยังอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค ควรใช้บริการจากสถานเสริมความงามที่ถูกกฎหมาย และใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามชนิดฉีดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. อย่างถูกต้องเท่านั้น 

ดาวน์โหลด

https://website.bdn.go.th/front/template/default/assets/image/icon/icon-file.svg
hyaluronic news_Feb2016
ประเภทไฟล์ : .pdf ขนาด : 2.39 Mb จำนวนดาวน์โหลด : 967
ข่าวสารอื่นๆ
ข่าวประชาสัมพันธ์
บุคลากรสำนักยาและวัตถุเสพติดร่วมประชุมเพื่อรับมอบแนวทางการดำเนินงานของสำนักจากผู้อำนวยการ
11.10.2024
บุคลากรสำนักยาและวัตถุเสพติดร่วมประชุมเพื่อรับมอบแนวทางการดำเนินงานของสำนักจากผู้อำนวยการ
บุคลากรสำนักยาและวัตถุเสพติดร่วมประชุมเพื่อรับมอบแนวทางการดำเนินงานของสำนักจากผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. ภญ. ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้พบปะพูดคุยกับบุคลากรของสำนัก เพื่อมอบแนวทางการดำเนินงาน พร้อมทั้งให้แนวคิด Show and Share ในการทำงาน โดยเน้นย้ำให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขและเกิดประสิทธิภาพ พร้อมปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างเหมาะสม ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการคนใหม่ของสำนักฯ โดยมี นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้เกียรติเข้าร่วมแสดงความยินดี พร้อมทั้งมอบนโยบายเสริม เพื่อช่วยขับเคลื่อนการทำงานของสำนักฯ ให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในโอกาสนี้ รองผู้อำนวยการทั้งสามท่าน ได้แก่ ภก.สิริชัย กระบี่ศรี ภญ.บุญฑริกา บุญญาภิวัฒน์ และ ภญ.จิรานุช แจ่มทวีกุล พร้อมด้วยบุคลากรจากสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ร่วมกันมอบช่อดอกไม้ต้อนรับผู้อำนวยการใหม่ด้วยบรรยากาศที่อบอุ่นและเปี่ยมด้วยมิตรภาพ ณ ห้องประชุม NIH อาคาร 1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักยาและวัตถุเสพติด และสถาบันวิจัยสมุนไพร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ทำงาน
11.10.2024
สำนักยาและวัตถุเสพติด และสถาบันวิจัยสมุนไพร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ทำงาน
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ภญ. ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด และนายสันตกิจ นิลอุดมศักดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร พร้อมด้วยบุคลากรจากทั้งสองหน่วยงาน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมจิตอาสาในการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอาคาร 2 และอาคาร 4 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรของทั้งสองหน่วยงาน ตลอดจนเพื่อรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน โดยทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาพื้นที่ให้สวยงามและเป็นระเบียบ นับเป็นกิจกรรมที่สะท้อนถึงความร่วมมืออันดีและความตั้งใจที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับองค์กร
ข่าวประชาสัมพันธ์
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
8.3.2024
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) จากโครงการ “การตรวจพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของยาเสพติด (Drug profile) สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส.” และจากโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 2“จำนวนรวม 15 คน เข้าศึกษาดูงานที่สำนักยาและวัตถุเสพติด เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้มีความรู้ในการวิเคราะห์ลักษณะของตัวยาเสพติดทางกายภาพและทางเคมี การตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการยาเสพติดของกลาง การส่งตรวจพิสูจน์ และการเก็บรักษา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และ สปป. ลาว ที่จะได้ร่วมมือกันในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยมีเภสัชกรสิริชัย กระบี่ศรี รองผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด เป็นประธานกล่าวและให้การต้อนรับผู้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมด้วยนายอดิศักดิ์ หมันหลิน และเจ้าหน้าที่กลุ่มวัตถุเสพติด ในการนี้นางสาวชญานิศ หิรัญวงษ์ ได้บรรยายเรื่อง “กระบวนการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด” พร้อมนำเสนอบทบาทหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของสำนักยาและวัตถุเสพติด ณ ห้องประชุมตำรายาฯ อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักยาและวัตถุเสพติด จากนั้นได้นำคณะผู้ดูงานเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวัตถุเสพติด 1-3 เพื่อศึกษาเครื่องมือที่ใช้การตรวจวิเคราะห์ ตลอดจนรับทราบภารกิจของแต่ละห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังได้ดูงานขั้นตอนการตรวจรับของกลาง ณ ห้องรับตัวอย่าง อาคาร 4 ชั้น 1 สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกด้วย