Thai Herbal Pharmacopoeia
เป็นตำรายาที่รวบรวมข้อกำหนดและข้อมูลอื่นๆ ในการควบคุมคุณภาพมาตรฐานยาสมุนไพรแต่ละชนิด และเป็นตำรายามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศรับรองในราชกิจจานุเบกษา โดยตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เล่มที่ 1 และ 2 (Thai Herbal Pharmacopoeia volume I, volume II) และฉบับเพิ่มเติม (Supplement) ได้รับรองในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุ ตำรายา พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ. ศ. 2549 (คัดจากราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 123 ตอนพิเศษ 112 ง วันที่ 20 ตุลาคม 2549) โดยมีภาพขาวดำและภาพสีประกอบแสดงลักษณะต้นไม้ เนื้อเยื่อและผงของยาสมุนไพร เนื้อหาจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
- เล่มที่ 1 (volume I) ประกอบด้วยสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ บอระเพ็ด ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลาย กะเพราแดง ขมิ้นชัน มะแว้งเครือ ไพล พริกไทยดำ พริกไทยล่อน สวาด และ ตานหม่อน และวิธีทดสอบ 76 เรื่อง
- เล่มที่ 2 (volume II) ประกอบด้วยสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะกรูด ผิวมะกรูด กระเทียม ดีปลี สมอไทย สมอพิเภก ว่านน้ำ หมากสง มะขามป้อม และพลู และวิธีทดสอบ 72 เรื่อง
- ฉบับเพิ่มเติม ปี 2547 (Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004) ประกอบด้วยสมุนไพร 2 ชนิด ได้แก่ บัวบก ขมิ้นอ้อย และ ยาเตรียม 3 ตำรับ ยาชงชุมเห็ดเทศ ยาแคปซูลฟ้าทะลาย และยาแคปซูลขมิ้นชัน และวิธีทดสอบ 40 เรื่อง
- เล่มที่ 3 (volume III) ประกอบด้วยสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ ชุมเห็ดไทย ขมิ้นเครือ กระชายดำ เทียนแดง เทียนดำ เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนเกล็ดหอย เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี และหญ้าหนวดแมว
- ฉบับเพิ่มเติม ปี 2554 (Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2011) ประกอบด้วยสมุนไพร 2 ชนิด ได้แก่ ใบช้าพลูและพญายอ รวมทั้ง Dissolution ของยาแคปซูล ขมิ้นชันและเกณฑ์การยอมรับทางจุลชีววิทยาสำหรับยาเตรียมสมุนไพร
- เล่มที่ 4 (volume IV) ประกอบด้วยสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ ใบรางจืด บุนนาค จันทน์แดง จันทน์ขาว เกสรบัวหลวง ลักจั่น เพชรสังฆาต พิกุล เทียนสัตตบุษย์ เทียนตากบ
- Thai Herbal Pharmacopoeia 2016 เป็นตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย มีจำนวน 659 หน้า จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐานของยาสมุนไพรจำนวน 62 มอโนกราฟ (monograph) และภาคผนวกที่เกี่ยวข้องพร้อมภาพต้นไม้ ภาพตัดขวาง TLC โครมาโตแกรมโดยตำรายานี้เป็นฉบับรวมเล่มโดยรวมมอโนกราฟที่มีใน THP volume I, II, III, IV และ Supplements จำนวน 49 มอโนกราฟและเพิ่มเติมมอโนกราฟใหม่จำนวน 13 มอโนกราฟได้แก่ โกฐเชียง โกฐสอ ขิง เนื้อในฝักคูน หม่อน เถาวัลย์เปรียง สารสกัดแห้งเถาวัลย์เปรียง พริกขี้หนู ยาเจลพริก หอม กระเจี๊ยบแดง มะระขี้นก และ Capsicum oleoresin รวม 62 มอโนกราฟ ทั้งนี้ THP 2016 ได้จัดทำขึ้นเนื่องใน โอกาสพิเศษเพื่อถวายความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
- Thai Herbal Pharmacopoeia 2017 เป็นตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย มีจำนวน 714 หน้า จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐานของยาสมุนไพรจำนวน 70 มอโนกราฟ (monograph) และภาคผนวกที่เกี่ยวข้องพร้อมภาพต้นไม้ ภาพตัดขวาง TLC โครมาโตแกรมโดยตำรายานี้เป็นฉบับรวมเล่มโดยรวมมอโนกราฟที่มีใน THP 2016 จำนวน 62 มอโนกราฟและเพิ่มเติมมอโนกราฟใหม่จำนวน 8 มอโนกราฟได้แก่ สารสกัดแห้งบัวบก ยาครีมบัวบก โกฐจุฬาลัมพา โกฐหัวบัว โกฐก้านพร้าว โกฐเขมา สะค้าน ยาแคปซูลเถาวัลย์เปรียง รวม 70 มอโนกราฟโดยตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ฉบับนี้ ได้รับรองในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุ ตำรายา พ.ศ. 2561 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ. ศ. 2561 (คัดจากราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 136 ตอนพิเศษ 39 ง วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562) โดยมีภาพขาวดำและภาพสีประกอบแสดงลักษณะต้นไม้ เนื้อเยื่อและผงของยาสมุนไพร เนื้อหาจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
- Thai Herbal Pharmacopoeia 2018 เป็นตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย มีจำนวน 808 หน้า จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐานของยาสมุนไพรจำนวน 80 มอโนกราฟ (monograph) และภาคผนวกที่เกี่ยวข้องพร้อมภาพต้นไม้ ภาพตัดขวาง TLC โครมาโตแกรมโดยตำรายานี้เป็นฉบับรวมเล่มโดยรวมมอโนกราฟที่มีใน THP 2017 จำนวน 70 มอโนกราฟและเพิ่มเติมมอโนกราฟใหม่จำนวน 10 มอโนกราฟได้แก่ สารสกัดแห้งขมิ้นชัน ยาแคปซูลสารสกัดแห้งขมิ้นชัน ยาแคปซูลขิง โกฐชฎามังสี โกฐพุงปลา โกฐกระดูก กระทือ แมงลักคา มะตูม ปลาไหลเผือก รวม 80 มอโนกราฟ ทั้งนี้ THP 2018 ได้จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
- Thai Herbal Pharmacopoeia 2019 จัดพิมพ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มี 2 เล่ม ได้แก่ เล่ม 1 (volume I) และ เล่ม 2 (volume II) จำนวน 863 หน้า เป็นฉบับรวมเล่มโดยมีมอโนกราฟจาก Thai Herbal Pharmacopoeia 2018 และที่เพิ่มเติม จำนวน 10 มอโนกราฟ รวมทั้งสิ้น 90 มอโนกราฟ โดยมีข้อกำหนดมาตรฐานยาสมุนไพรที่เพิ่มเติมจาก THP 2018 จำนวน 10 มอโนกราฟ ได้แก่ ยาแคปซูลชุมเห็ดเทศ คนทา ปัญจขันธ์ สารสกัดแห้งปัญจขันธ์ ยาแคปซูลสารสกัดแห้งปัญจขันธ์ ยาชงขิง ยาชงกระเจี๊ยบแดง มะเดื่ออุทุมพร น้ำมันตะไคร้หอม ย่านาง และปรับปรุงภาคผนวก 5.2 การตรวจโลหะหนักในยาสมุนไพร (Heavy Metals in Herbal Drugs and Herbal Drug Preparations) ให้มีวิธีทดสอบที่ทันสมัย ได้แก่ Atomic Spectrometry: Emission and Absorption(AAS), Inductively Coupled Plasma-Atomic Emission Spectrometry(ICP-AES), Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry (ICP-MS)ซึ่งครอบคลุมโลหะหนัก ได้แก่ As, Cd, Pb และ Hg และภาคผนวก 7.22H สารตกค้างที่เป็นยาฆ่าแมลง (Pesticide Residues) ที่มีข้อกำหนดของสารตกค้างที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น 70 ชนิด ทั้งนี้ นอกจากตำราที่เป็นรูปเล่มแล้ว ผู้สนใจสามารถใช้ได้ผ่านช่องทาง Mobile Application ชื่อว่า “Thai Herbal Pharmacopoeia” และได้เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้งระบบ Android และ IOS ฟรี หรือทางเว็บไซต์สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ที่
ฐานข้อมูล : ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยออนไลน์
Ebook : https://website.bdn.go.th/th/e-book
ถ้ามีข้อสงสัยโปรดติดต่อกลุ่มจัดทำตำรายาของประเทศไทย โทร 02-9510000 ต่อ 99120