1. เงื่อนไขการให้บริการ
ให้บริการแก่หน่วยงานราชการและเอกชนในการตรวจวิเคราะห์ความเข้ากันได้ทางด้านชีววิทยา (Biocompatibility test)
2. ขั้นตอนการให้บริการ
3. ตัวอย่างที่รับตรวจ
1. วัตถุดิบที่ใช้ทางการแพทย์ เช่น เม็ด/ แผ่นพลาสติกยาง เป็นต้น
2. เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์
3. ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุเภสัชภัณฑ์
4. ขั้นตอนการส่งตัวอย่าง
4.1 จำนวนตัวอย่าง
ประเภทตัวอย่าง |
จำนวนตัวอย่าง |
ภาชนะพลาสติกสําหรับบรรจุเภสัชภัณฑ์ |
*สอบถามได้ที่ |
อุปกรณ์ทางการแพทย์สําเร็จรูป เช่น ชุดให้เลือด, |
*สอบถามได้ที่ |
วัตถุดิบ เช่น ยาง, เม็ด/แผ่นพลาสติก เป็นต้น |
*สอบถามได้ที่ |
*หมายเหตุ: ปริมาณตัวอย่างขึ้นกับหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ที่ต้องการส่งตรวจ
4.2 เอกสารประกอบการส่งตัวอย่าง
กรอกเอกสารประกอบการส่งตัวอย่าง ดังนี้
- เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายละเอียดของผลิตภัณฑ์
กรณีที่ต้องการรายงานเป็นภาษาอังกฤษ ต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษมาด้วย
4.3 การส่งตัวอย่าง
► ตัวอย่างที่ต้องชำระค่าบริการ
ส่งที่ ศูนย์รวมบริการ (One stop service center) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 1 ชั้น 1 เวลา 8.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ
► ตัวอย่างที่ไม่ต้องชำระค่าบริการ
ส่งที่ สำนักยาและวัตถุเสพติด อาคาร 2 ชั้น 4 เวลา 8.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ
4.4 ชำระเงินค่าตรวจวิเคราะห์ (ถ้ามี) และรับหลักฐานการรับตัวอย่าง
► ชำระเงินที่ ศูนย์รวมบริการ (One stop service center) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 1 ชั้น 1 เวลา 8.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ โทรศัพท์ 02 951 0000 ต่อ 99968 โดยชำระเงินพร้อมการส่งตัวอย่าง
► ช่องทางการชำระเงิน ได้แก่ เงินสด ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค ดราฟต์บัตรเดบิต และบัตรเครดิต
► แคชเชียร์เช็ค หรือตั๋วแลกเงิน สั่งจ่าย "เงินบำรุงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์"
► ค่าธรรมเนียมธนาคารการใช้บัตรเครดิตเรียกเก็บจากผู้ใช้
► งดรับเช็คบุคคลธรรมดา หรือเช็คนิติบุคคล
5. การปฏิเสธการรับตัวอย่าง
► จำนวนตัวอย่างไม่เพียงพอ
► ตัวอย่างมีสภาพไม่สมบูรณ์
6. ระยะเวลาการให้บริการ
► 120 วัน
7. อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์
► อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนพิเศษ 130ง ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 [download]
► อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ (ฉบับที่ 2) อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 137 ตอนพิเศษ 98ง ลงวันที่ 28 เมษายน 2563 [download]
8. การรับผลตรวจวิเคราะห์
ผู้รับบริการสามารถรับผลการตรวจวิเคราะห์ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
► ทางไปรษณีย์
► รับด้วยตนเองที่ ศูนย์รวมบริการ (One stop service center) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 1 ชั้น 1 เวลา 8.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ โดยต้องนำหลักฐานมาแสดงในวันรับผล ดังนี้
9. การให้บริการอื่นๆ เกี่ยวกับรายงานผลวิเคราะห์
9.1 การขอแก้ไขรายงาน
ผู้รับบริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด พร้อมแนบหลักฐานเอกสารที่ต้องการเปลี่ยน และใบรายงานผลการวิเคราะห์ฉบับจริง โดยผู้รับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกรายงานใหม่ตามอัตราที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด
(หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น)
9.2 การขอสำเนาใบรายงานผลการวิเคราะห์
ผู้รับบริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด พร้อมแนบหลักฐานสำเนาเอกสารใบรายงานผลการวิเคราะห์ หรือแจ้งเลขที่รายงาน/ เลขที่ตัวอย่าง เพื่อให้สามารถสืบค้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดยผู้รับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท
(หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น)
9.3 การแปลรายงานผลวิเคราะห์ฉบับภาษาอังกฤษ
ผู้รับบริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด แจ้งวัตถุประสงค์การขอใช้งานบริการที่ต้องการ พร้อมแจ้งเลขที่รายงานและเลขที่ตัวอย่าง โดยผู้รับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท
(หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น)
9.4 การขอรายละเอียดผลการตรวจเพิ่มเติม (test items)
ผู้รับบริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด แจ้งหัวข้อวิเคราะห์ที่ต้องการ พร้อมแจ้งเลขที่รายงานและเลขที่ตัวอย่าง โดยผู้รับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียม 300 บาท/test item
(หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น)