เอกสารเผยแพร่

การวิเคราะห์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้า ปีงบประมาณ 2550-2556
  • 4.12.2017
  • 6,121
การวิเคราะห์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้า ปีงบประมาณ 2550-2556
เจ้าของ/ผู้ผลิต เจ้าของ/ผู้ผลิต
วลัยลักษณ์ เมธาภัทร, พัชรินทร์ เนื่องสาย, วิรดา ธีรรัตนพันธุ์, อดิศักดิ์ หมันหลิน
ปีที่ผลิต ปีที่ผลิต
2559
จำนวนหน้า จำนวนหน้า
10 หน้า
รายละเอียดโดยย่อ

การแพร่ระบาดของการใช้ในทางที่ผิดของยาบ้าก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงต่อประเทศ การตรวจพิสูจน์เป็นแนวทางหนึ่งในการควบคุม และปราบปรามการแพร่ระบาดยาบ้า เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบในเม็ดยาบ้า จึงได้ ทําการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์สถานการณ์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้าในช่วงปีงบประมาณ 2550-2556 โดยการ รวบรวมข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ของกลางยาบ้าทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณที่ส่งโดยหน่วยงานในสังกัด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อตรวจพิสูจน์ที่สํานักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยเทคนิค thin layer chromatography และ gas chromatography รวมจํานวน 44,140 ตัวอย่าง พบว่าของกลางเม็ดยาบ้าส่วนใหญ่ ตรวจพบเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ และแคฟเฟอีน ร้อยละความบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ โดยน้ําหนักในเม็ดยาบ้าจะอยู่ในช่วง 0.00 ถึง 40.00 โดยในข้อมูลที่ศึกษาทั้ง 7 ปี ตรวจพบร้อยละโดยน้ําหนักของ เมทแอมเฟตามีนมากที่สุดในช่วง 15.01 ถึง 20.00 และพบสูงถึงร้อยละ 32.98 - 83.86 ของจํานวนตัวอย่างที่ ตรวจสอบ นอกจากนี้ยังตรวจพบสารเสพติดและยาแผนปัจจุบันอื่น ๆ เช่น เอ็น,เอ็น-ไดเมทิลแอมเฟตามีน อีเฟดรีน พาราเซตามอล คลอเฟนนิรามีน มาลีเอต และไดเฟนไฮดรามีน ดังนั้นจะพบว่า นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ยังคงมีมากอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเมทแอมเฟตามีนที่ใช้ในการผลิตยาบ้าก็ไม่ลดลง แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของ สถานการณ์ยาบ้าในประเทศ ข้อมูลที่รวบรวมได้นี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของประเทศต่อไป

http://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/282