การใช้ยาสมุนไพรในประเทศไทยมีทั้งการใช้เป็นยาและใช้ในลักษณะเสริมอาหาร ปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนให้มี การใช้ยาสมุนไพรมากขึ้นในการดูแลสุขภาพในเบื้องต้นและเพื่อลดค่าใช้จ่ายของประเทศในการนําเข้ายาแผนปัจจุบันนโยบาย และแผนพัฒนาหลายฉบับได้สนับสนุนในเรื่องการใช้ยาสมุนไพร ได้แก่ นโยบาย 1 ตําบล 1 ผลิตภัณฑ์ แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น นอกจากนี้มีการจัดทําบัญชียาจากสมุนไพร เพื่อให้มีการใช้ยาสมุน ไพรมากขึ้น ยาสมุนไพรมีมากมายหลายชนิด และในแต่ละส่วนของสมุนไพรแต่ละชนิด อาจนํามาใช้ในการบําบัดโรคที่ แตกต่างกัน การเลือกใช้ยาสมุนไพร ต้องเลือกสมุนไพรให้ถูกชนิด ถูกส่วน และตรงกับโรคที่ต้องการบําบัด ดังนั้นการ ยืนยันความถูกต้องของสมุนไพร จึงเป็นสิ่งสําคัญที่ต้องคํานึงถึง และใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ความรู้ทางเภสัชเวท พฤกษศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และชีวโมเลกุล มาช่วยในการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาสมุนไพร ในตํารามาตรฐานยาสมุนไพรไทย และตํารายาต่างประเทศอื่นๆ ได้บรรจุวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาสมุนไพรหลายวิธี ได้แก่ การศึกษาลักษณะทางมหภาค (macroscopical characteristic) เป็นการใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยการสังเกตลักษณะทางกายภาพภายนอกของสมุนไพร เช่น ขนาด รูปร่าง สี อีกทั้งการศึกษาลักษณะทางจุลภาค (microscopical characteristic) เป็นการศึกษาการจัดเรียงตัวของ เซลล์และเนื้อเยื่อ ความหนาของเซลล์ และสารประกอบที่อยู่ภายในเซลล์ของชิ้นส่วนสมุนไพรภายใต้กล้องจุลทรรศน์ นอกจาก นี้ในตํารายาทั้งหลายดังกล่าวนี้ยังบรรจุการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี การวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญที่เป็นองค์ ประกอบในยาสมุนไพรด้วย ปัจจุบันนอกจากมีวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ตามข้างต้นดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีวิธีการพิสูจน์ เอกลักษณ์ยาสมุนไพรด้วยวิธีอื่นที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมมากนั่นคือการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาสมุนไพรโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสิ่งมีชีวิตวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนํามาใช้ประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพร โดยช่วยในการยืนยันความถูกต้องของชนิคสมุนไพร และใช้ในการตรวจยาสมุนไพรที่มีการปนปลอม การพิสูจน์ เอกลักษณ์ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ เริ่มมีการบรรจุในภาคผนวกตําราฟาร์มาโคเปียของสหรัฐอเมริกา (The United States Pharmacopeia) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 สําหรับตํารามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ยังไม่มีการบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ ดังนั้น บทความปริทัศน์นี้จะกล่าวถึงลายพิมพ์ดีเอ็นเอในยาสมุนไพร ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีจัดทําหัวข้อดังกล่าว และบรรจุไว้ในภาคผนวกตํารามาตรฐานยาสมุนไพรไทยต่อไป