เอกสารเผยแพร่

วิธีทางเลือกเพื่อควบคุมคุณภาพยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
วิธีทางเลือกเพื่อควบคุมคุณภาพยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
หลักการและวัตถุประสงค์ : รีฟลักซ์เป็นการเตรียมตัวอย่างตามวิธีมาตรฐานในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรสำหรับการวิเคราะห์ปริมาณแอนโดกราโฟไลด์ในวัตถุดิบสมุนไพรและยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 วิธีนี้มีข้อเสียคือใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ที่ระเหยง่ายและอันตรายในปริมาณสูง ประสิทธิภาพในการสกัดต่ำ และใช้เวลานาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีสกัดแบบดั้งเดิม กับการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง และเสนอเป็นวิธีทางเลือกในการเตรียมตัวอย่างเพื่อควบคุมคุณภาพยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยฉบับปัจจุบัน ระเบียบวิธีศึกษา : หาตัวทำละลายและระยะเวลาสกัดที่เหมาะสมที่สุดในการเตรียมตัวอย่างโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง แล้วนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสกัดกับวิธีรีฟลักซ์โดยทดลองกับยาแคปซูลฟ้าทะลายโจร จำนวน 30 ตัวอย่าง วิธีวิเคราะห์หาปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ตามที่ระบุในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีดังกล่าวยังคงมีประสิทธิภาพดี และความถูกต้องน่าเชื่อถือหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเตรียมตัวอย่าง ผลการศึกษา : การเตรียมตัวอย่างโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนาน 15 นาที และมีเมทานอล 50% เป็นตัวทำละลายให้ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ที่สกัดได้สูงสุด การเปลี่ยนแปลงวิธีเตรียมตัวอย่างไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวิธีวิเคราะห์ ปริมาณแอนโดกราโฟไลด์ที่สกัดได้จากการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงมีค่าใกล้เคียงและส่วนใหญ่จะมีค่าสูงกว่าการสกัดด้วยวิธีรีฟลักซ์ อภิปรายและสรุปผล : การเตรียมตัวอย่างโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสะดวกกว่าวิธีรีฟลักซ์ สามารถนำมาใช้เป็นวิธีทางเลือกในการเตรียมตัวอย่างเพื่อควบคุมคุณภาพยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยฉบับปัจจุบันได้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JTTAM/article/view/115106
วิธีทางเลือกเพื่อควบคุมคุณภาพยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
วิธีทางเลือกเพื่อควบคุมคุณภาพยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในยาสมุนไพรสำหรับตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในยาสมุนไพรสำหรับตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
การใช้ยาสมุนไพรในประเทศไทยมีทั้งการใช้เป็นยาและใช้ในลักษณะเสริมอาหาร ปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนให้มี การใช้ยาสมุนไพรมากขึ้นในการดูแลสุขภาพในเบื้องต้นและเพื่อลดค่าใช้จ่ายของประเทศในการนําเข้ายาแผนปัจจุบันนโยบาย และแผนพัฒนาหลายฉบับได้สนับสนุนในเรื่องการใช้ยาสมุนไพร ได้แก่ นโยบาย 1 ตําบล 1 ผลิตภัณฑ์ แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น นอกจากนี้มีการจัดทําบัญชียาจากสมุนไพร เพื่อให้มีการใช้ยาสมุน ไพรมากขึ้น ยาสมุนไพรมีมากมายหลายชนิด และในแต่ละส่วนของสมุนไพรแต่ละชนิด อาจนํามาใช้ในการบําบัดโรคที่ แตกต่างกัน การเลือกใช้ยาสมุนไพร ต้องเลือกสมุนไพรให้ถูกชนิด ถูกส่วน และตรงกับโรคที่ต้องการบําบัด ดังนั้นการ ยืนยันความถูกต้องของสมุนไพร จึงเป็นสิ่งสําคัญที่ต้องคํานึงถึง และใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ความรู้ทางเภสัชเวท พฤกษศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และชีวโมเลกุล มาช่วยในการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาสมุนไพร ในตํารามาตรฐานยาสมุนไพรไทย และตํารายาต่างประเทศอื่นๆ ได้บรรจุวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาสมุนไพรหลายวิธี ได้แก่ การศึกษาลักษณะทางมหภาค (macroscopical characteristic) เป็นการใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยการสังเกตลักษณะทางกายภาพภายนอกของสมุนไพร เช่น ขนาด รูปร่าง สี อีกทั้งการศึกษาลักษณะทางจุลภาค (microscopical characteristic) เป็นการศึกษาการจัดเรียงตัวของ เซลล์และเนื้อเยื่อ ความหนาของเซลล์ และสารประกอบที่อยู่ภายในเซลล์ของชิ้นส่วนสมุนไพรภายใต้กล้องจุลทรรศน์ นอกจาก นี้ในตํารายาทั้งหลายดังกล่าวนี้ยังบรรจุการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี การวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญที่เป็นองค์ ประกอบในยาสมุนไพรด้วย ปัจจุบันนอกจากมีวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ตามข้างต้นดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีวิธีการพิสูจน์ เอกลักษณ์ยาสมุนไพรด้วยวิธีอื่นที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมมากนั่นคือการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาสมุนไพรโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสิ่งมีชีวิตวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนํามาใช้ประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพร โดยช่วยในการยืนยันความถูกต้องของชนิคสมุนไพร และใช้ในการตรวจยาสมุนไพรที่มีการปนปลอม การพิสูจน์ เอกลักษณ์ด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ เริ่มมีการบรรจุในภาคผนวกตําราฟาร์มาโคเปียของสหรัฐอเมริกา (The United States Pharmacopeia) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 สําหรับตํารามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ยังไม่มีการบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ ดังนั้น บทความปริทัศน์นี้จะกล่าวถึงลายพิมพ์ดีเอ็นเอในยาสมุนไพร ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีจัดทําหัวข้อดังกล่าว และบรรจุไว้ในภาคผนวกตํารามาตรฐานยาสมุนไพรไทยต่อไป
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในยาสมุนไพรสำหรับตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในยาสมุนไพรสำหรับตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย
คุณภาพยาเม็ดอะม็อกซีซิลลินและคลาวูลานิกแอซิดในประเทศไทย
คุณภาพยาเม็ดอะม็อกซีซิลลินและคลาวูลานิกแอซิดในประเทศไทย
ยาผสมอะม็อกซีซิลลินและคลาวูลานิกแอซิดเป็นยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กันมาก เป็นสูตรตํารับที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาสูตรผสมนี้มีปัญหาด้านความคงสภาพโดยเกิดการสลายตัวได้ง่าย ดังนั้นเพื่อ ความปลอดภัยและความเชื่อมั่นในคุณภาพยาของผู้ใช้ สํานักยาและวัตถุเสพติด ได้ดําเนินการสํารวจคุณภาพยาเม็ดอะม็อก ซีซิลลินและคลาวูลานิกแอซิด ในโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานด้านยาและต่อเนื่องด้วยงานเฝ้าระวังคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยของเภสัชภัณฑ์ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ที่ผ่านการทวนสอบและเกณฑ์มาตรฐานตามตําราฟาร์มาโคเปีย ของสหรัฐอเมริกา (USP34) ในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตทุกรายด้วยมาตรฐานเดียวกัน โดยได้ทดสอบ ตัวอย่างจํานวน 131 ตัวอย่างจากทะเบียนตํารับยา 42 ตํารับเป็นผู้ผลิตในประเทศ 4 ราย และผู้นําเข้าจากต่างประเทศ 15 ราย ตรวจวิเคราะห์หัวข้อปริมาณตัวยาสําคัญ ความสม่ําเสมอของปริมาณตัวยาของตัวยาคลาวูลานิกแอซิด ความแตกต่างจาก น้ําหนักเฉลี่ยของตัวยาอะม็อกซีซิลลิน การละลายของตัวยาทั้งสอง และปริมาณน้ํา พบว่าผลการตรวจวิเคราะห์ เข้ามาตรฐานทั้งสิ้น 122 ตัวอย่าง (ร้อยละ 93) ผิดมาตรฐาน 9 ตัวอย่าง (ร้อยละ 7) โดยผิดมาตรฐานหัวข้อปริมาณตัวยาสําคัญคลาวูลานิกแอซิด จํานวน 1 ตัวอย่าง ความสม่ําเสมอของตัวยาคลาวูลานิกแอซิดจํานวน 2 ตัวอย่าง ปริมาณตัวยาสําคัญและความสม่ําเสมอของตัวยา ของคลาวูลานิกแอซิด จํานวน 1 ตัวอย่าง และการละลายของตัวยา จํานวน 5 ตัวอย่าง จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ายังมีปัญหา ด้านคุณภาพอยู่ แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของขั้นตอนการผลิตยา สูตรตํารับ ภาชนะบรรจุ และการเก็บรักษา ซึ่งเป็นปัจจัย สําคัญต่อคุณภาพยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241702
คุณภาพยาเม็ดอะม็อกซีซิลลินและคลาวูลานิกแอซิดในประเทศไทย
คุณภาพยาเม็ดอะม็อกซีซิลลินและคลาวูลานิกแอซิดในประเทศไทย
ข้อกำหนดมาตรฐานตำรับวัคซีนในตำรายาของประเทศไทย
ข้อกำหนดมาตรฐานตำรับวัคซีนในตำรายาของประเทศไทย
เนื่องจากโรคติดต่อต่างๆ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั้งในประเทศไทย ตลอดจนมวลมนุษยชาติ วัคซีนจึงมีความสำคัญและจำเป็นต้องใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคและโรคระบาด สามารถลดการป่วยการตายเนื่องจากโรคติดต่อที่สำคัญหลายโรค ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้วัคซีนที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีการใช้ได้อย่างปลอดภัย จึงได้มีการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของวัคซีนในตำรายาของประเทศไทยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของวัคซีนที่มีการใช้ภายในประเทศ ในแต่ละปีวัคซีนสามารถป้องกันการเสียชีวิตของประชากรได้ถึงปีละ 3 ล้านคนทั่วโลกและสามารถป้องกันความพิการของเด็กได้ถึงปีละไม่น้อยกว่า 750,000 คน นอกจากนี้วัคซีนยังสามารถป้องกันโรคติดเชื้อไม่ให้ระบาดในชุมชนและยังสามารถกำจัดโรคนั้นๆ ให้หมดไปได้หากความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนสูงพอ เช่น โรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (Smallpox) ที่ได้ถูกกำจัดให้หมดไปจากโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 การที่วัคซีนสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีสุขภาพดีรวมถึงการมีสติปัญญาดี ไม่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสามารถสร้างความเข้มแข็งและความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้เนื่องจากช่วยลดงบประมาณรายจ่ายที่ต้องใช้เพื่อการรักษาโรค และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
ข้อกำหนดมาตรฐานตำรับวัคซีนในตำรายาของประเทศไทย
ข้อกำหนดมาตรฐานตำรับวัคซีนในตำรายาของประเทศไทย
การวิเคราะห์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้า ปีงบประมาณ 2550-2556
การวิเคราะห์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้า ปีงบประมาณ 2550-2556
การแพร่ระบาดของการใช้ในทางที่ผิดของยาบ้าก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงต่อประเทศ การตรวจพิสูจน์เป็นแนวทางหนึ่งในการควบคุม และปราบปรามการแพร่ระบาดยาบ้า เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบในเม็ดยาบ้า จึงได้ ทําการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์สถานการณ์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้าในช่วงปีงบประมาณ 2550-2556 โดยการ รวบรวมข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ของกลางยาบ้าทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณที่ส่งโดยหน่วยงานในสังกัด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อตรวจพิสูจน์ที่สํานักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยเทคนิค thin layer chromatography และ gas chromatography รวมจํานวน 44,140 ตัวอย่าง พบว่าของกลางเม็ดยาบ้าส่วนใหญ่ ตรวจพบเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ และแคฟเฟอีน ร้อยละความบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ โดยน้ําหนักในเม็ดยาบ้าจะอยู่ในช่วง 0.00 ถึง 40.00 โดยในข้อมูลที่ศึกษาทั้ง 7 ปี ตรวจพบร้อยละโดยน้ําหนักของ เมทแอมเฟตามีนมากที่สุดในช่วง 15.01 ถึง 20.00 และพบสูงถึงร้อยละ 32.98 - 83.86 ของจํานวนตัวอย่างที่ ตรวจสอบ นอกจากนี้ยังตรวจพบสารเสพติดและยาแผนปัจจุบันอื่น ๆ เช่น เอ็น,เอ็น-ไดเมทิลแอมเฟตามีน อีเฟดรีน พาราเซตามอล คลอเฟนนิรามีน มาลีเอต และไดเฟนไฮดรามีน ดังนั้นจะพบว่า นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ยังคงมีมากอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเมทแอมเฟตามีนที่ใช้ในการผลิตยาบ้าก็ไม่ลดลง แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของ สถานการณ์ยาบ้าในประเทศ ข้อมูลที่รวบรวมได้นี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของประเทศต่อไป http://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/282
การวิเคราะห์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้า ปีงบประมาณ 2550-2556
การวิเคราะห์องค์ประกอบในเม็ดยาบ้า ปีงบประมาณ 2550-2556
การประเมินการปนเปื้อนของสารเอ็นโดทอกซินในผลิตภัณฑ์ยาฉีดตามโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา
การประเมินการปนเปื้อนของสารเอ็นโดทอกซินในผลิตภัณฑ์ยาฉีดตามโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา
การประเมินการปนเปื้อนของสารเอ็นโดทอกซินในผลิตภัณฑ์ยาฉีดเป็นการศึกษาหาการปนเปื้อนสาร เอ็นโดทอกซินตามโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา ในผลิตภัณฑ์ยาฉีด 16 ชนิด จํานวน 248 ตัวอย่าง แต่ละตัวอย่างมีการทดสอบหาปริมาณสารเอ็นโดทอกซิน พร้อมกับการทดสอบปัจจัยรบกวนที่มีผลต่อการ ยับยั้งหรือกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาโดยใช้วิธี Kinetic Turbidity จากการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นที่เลือกใช้ในการทดสอบ แต่ละผลิตภัณฑ์ยามีความเหมาะสม ไม่มีผลต่อการกระตุ้นหรือยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา บริษัทผู้ผลิตสามารถใช้ข้อมูลนี้เป็น แนวทางในการเลือกความเข้มข้นที่ต้องการทดสอบหาการปนเปื้อนสารเอ็นโดทอกซินในผลิตภัณฑ์ยาได้ นอกจากนี้ยังพบ ว่า ทุกตัวอย่างมีปริมาณสารเอ็นโดทอกซินน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ยาฉีดที่มีใช้ในโรงพยาบาล ของรัฐทั่วประเทศมีคุณภาพและความปลอดภัยต่อสารเอ็นโดทอกซิน
การประเมินการปนเปื้อนของสารเอ็นโดทอกซินในผลิตภัณฑ์ยาฉีดตามโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา
การประเมินการปนเปื้อนของสารเอ็นโดทอกซินในผลิตภัณฑ์ยาฉีดตามโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา
การจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานการละลายของยาแคปซูลฟ้าทะลาย
การจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานการละลายของยาแคปซูลฟ้าทะลาย
ที่ผ่านมามีการใช้ยาแคปซูลฟ้าทะลาย หรือยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ซึ่งยาดังกล่าวเป็น ยาที่ใช้ในการแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย นอกจากเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์แล้ว การควบคุมคุณภาพเป็นเรื่องที่ต้องคํานึงถึงอย่างยิ่ง วิธีการทดสอบการละลาย เป็นหัวข้อทดสอบที่สําคัญอันหนึ่ง ในการควบคุมคุณภาพ เนื่องจากวิธีการทดสอบดังกล่าว จะใช้ตรวจสอบความบกพร่องของผลิตภัณฑ์และใช้ ควบคุมความสม่ําเสมอในแต่ละรุ่นการผลิต ดังนั้นจึงได้มีการจัดทําข้อกําหนดมาตรฐานการละลายของยาแคปซูล ฟ้าทะลาย หรือยาแคปซูลแอนโดรกราฟิส เพนิคุลาตา ในการศึกษานี้ได้พัฒนาวิธีการทดสอบการละลายเพื่อใช้ กําหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จุดประสงค์ในการศึกษา เพื่อจะประเมินลักษณะการละลายของยาแคปซูลฟ้าทะลายสกัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้กําหนดปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ ซึ่งมีจําหน่ายในท้องตลาด การศึกษา ได้มีการทดสอบโดยใช้ตัวกลางการละลายหลายชนิดเพื่อที่จะเลือกตัวกลางการละลายที่เหมาะสมสําหรับวิธีการ ทดสอบการละลาย ซึ่งข้อมูลที่ได้นํามาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ ผลการทดสอบของวิธีทดสอบการละลาย ที่เสนอครั้งนี้ ใช้อุปกรณ์ใบพายที่ความเร็ว 100 รอบต่อนาที ตัวกลางการละลาย 900 มิลลิลิตร ประกอบด้วย กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 0.01 โมลาร์ โดยมีโซเดียมลอริลซัลเฟตละลายอยู่ในความเข้มข้นร้อยละ 0.2 น้ําหนักต่อปริมาตร ซึ่งตัวกลางดังกล่าวคงอุณหภูมิที่ 37.0+0.5 องศาเซลเซียส และเวลาที่ใช้ทดสอบ 45 นาที ดังนั้น วิธีทดสอบที่เสนอนี้สามารถใช้ในการจัดทําข้อกําหนดมาตรฐานการละลายของยาแคปซูลฟ้าทะลายสกัด เนื่องจากวิธีดังกล่าวสามารถแยกความแตกต่างของคุณภาพการละลายระหว่างผลิตภัณฑ์ที่จําหน่ายในประเทศไทย http://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/154
การจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานการละลายของยาแคปซูลฟ้าทะลาย
การจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานการละลายของยาแคปซูลฟ้าทะลาย
การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในของกลางยาคดี
การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในของกลางยาคดี
การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในของกลางยาคดีด้วยวิธี TLC และ HPLC ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย วิธี TLC ใช้ silica gel 60 F254 เป็นวัฏภาคนิ่ง และวัฏภาคเคลื่อนที่ระบบที่ 1 ใช้ส่วนผสมระหว่าง ethyl acetate, acetonitrile และ ammonia solution ระบบที่ 2 ใช้ส่วนผสมระหว่าง ethyl acetate, ethanol และ ammonia solution ตรวจวัดด้วย UV254, การสแกนสเปกตรัมและน้ำยา ethanolic-sulfuric acid กับน้ำยา acidified iodoplatinate ตามลำดับ พบว่า sildenafil, tadalafil, vardenafil, aminotadalafil และ methisosildenafil มีค่า Rf ในระบบที่ 1 เท่ากับ 0.49, 0.71, 0.50, 0.57 และ 0.56 ตามลำดับ ในขณะที่ระบบที่ 2 มีค่า Rf เท่ากับ 0.31, 0.78, 0.45, 0.72 และ 0.43 ตามลำดับ เมื่อพ่นด้วยน้ำยา ethanolic-sulfuric acid tadalafil และ aminotadalafil จะปรากฏเป็นสีม่วง และเมื่อพ่นทับด้วยน้ำยา acidified iodoplatinate แล้ว sildenafil, tadalafil, vardenafil และ aminotadalafil จะเกิดปฏิกิริยาปรากฏเป็นสีน้ำตาลหรือสีม่วงขึ้นกับความเข้มข้นของสารขีดจำกัดของการตรวจพบของ sildenafil, tadalafil และ vardenafil ด้วยวิธีนี้มีค่าเท่ากับ 100, 1,000 และ 250 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ วิธี HPLC ใช้คอลัมน์ชนิด C18 เป็นวัฏภาคนิ่ง ส่วนผสมระหว่าง 0.01 M ammonium acetate และ methanol เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ ตรวจวัดด้วย PDA detector ที่ความยาวคลื่น 210-350 นาโนเมตร พบ peak ของ sildenafil, tadalafil, vardenafil, aminotadalafil และ methisosildenafil แยกออกจากกันอย่างสมบูรณ์ด้วยค่า resolution มากกว่า 1.8 และไม่พบการรบกวนจากองค์ประกอบอื่นในตำรับ ขีดจำกัดของการตรวจพบของ sildenafil, tadalafil, vardenafil, aminotadalafil และ methisosildenafil มีค่าเท่ากับ 3.8, 1.0, 2.5, 0.8 และ 2.3 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ได้นำวิธีทีพัฒนาขึ้นมาใช้ในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในของกลางยาคดีกลุ่มที่แจ้งสรรพคุณการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศจำนวน 230 ตัวอย่าง ตรวจพบ sildenafil 213 ตัวอย่าง ตรวจพบ sildenafil, vardenafil, aminotadalafil ผสม tadalafil จำนวน 11 ตัวอย่าง และตรวจพบ sildenafil ผสม vardenafil จำนวน 1 ตัวอย่าง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241326
การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในของกลางยาคดี
การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในของกลางยาคดี
การศึกษาความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีน
การศึกษาความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีน
เมทแอมเฟตามนี เป็นยาเสพติดที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ซึ่งแพร่ระบาดและมีความรุนแรงของปัญหาอย่างต่อเนื่อง มาตรการหนึ่งในการควบคุมดูแลปัญหายาเสพติด คือ การตรวจจับ และตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของกลาง เพื่อการดำเนินการตามกฎหมาย การตรวจพิสูจน์จำเป็นต้องใช้สารมาตรฐานซึ่งจัดหายาก และมีราคาแพง ดังนั้น เพื่อให้สามารถระบุถึงระยะเวลาการใช้งานของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีนที่เตรียมขึ้นใช้ในห้องปฏิบัติการ จึงศึกษาความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีนที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเมทแอมเฟตามีนในตัวอย่างของกลางยาเสพติด โดยการเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเมทแอมเฟตามีนในของกลางยาบ้าด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี ในระยะเวลา 128 วัน ระหว่างการใช้สารละลายมาตรฐานของเมทแอมเฟตามีนที่ความเข้มข้น ประมาณ 0.4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรในคลอโรฟอร์ม และเก็บไว้ที่ 2-8 องศาเซลเซียส กับการใช้สารละลายมาตรฐานที่เตรียมใหม่ทุกครั้งในการวิเคราะห์ จากการตรวจวิเคราะห์พบว่าความแตกต่างของร้อยละโดยน้ำหนักของปริมาณเมทแอมเฟตามีนในตัวอย่างของกลางจากการใช้สารละลายมาตรฐาน 2 แบบ อยู่ในช่วง 0.11 - 1.96 ดังนั้น จึงสามารถระบุได้ว่าสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีนที่เตรียมในคลอโรฟอร์มสามารถใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเมทแอมเฟตามีนได้ 128 วัน ทั้งนี้การศึกษาถึงความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีน และสารเสพติดชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ ถือว่าเป็นการสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการดำเนินการทางอรรถคดีให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241325
การศึกษาความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีน
การศึกษาความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีน
การตรวจพิสูจน์และยืนยันเอกลักษณ์ยานอนหลับชนิดใหม่ในประเทศไทย : ฟีนาซีแพมในของกลาง
การตรวจพิสูจน์และยืนยันเอกลักษณ์ยานอนหลับชนิดใหม่ในประเทศไทย : ฟีนาซีแพมในของกลาง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ยาและยาเสพติดเพื่อการควบคุมทางกฎหมาย และเฝ้าระวังการนำไปใช้ในทางที่ผิด พบยาที่นำมาใช้ในทางที่ผิดมากที่สุด คือ ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนส์ ในปี พ.ศ. 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับของกลางเป็นยาเม็ดกลมแบนสีส้มอ่อน บรรจุแผงแจ้ง “Erimin 5” ปกติประกอบด้วยไนเมตาซีแพม จากผลการตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบไนเมตาซีแพม แต่ตรวจพบฟีนาซีแพม ซึ่งคาดว่าเป็นการตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย เป็นยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนส์เช่นกัน แต่เป็นชนิดที่ออกฤทธิ์แรงและนาน สามารถหาซื้อทางอินเทอร์เน็ตและมีการนำไปใช้ในทางที่ผิดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา พบรายงานการเสียชีวิตหลายราย สำหรับไนเมตาซีแพมเป็นสารควบคุม ขณะที่ฟีนาซีแพม ยังไม่ได้เป็นสารควบคุมทั้งในอนุสัญญาสหประชาชาติ ประเทศไทย และอีกหลายประเทศ จึงคาดว่าเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงขั้นตอนและเทคนิคการตรวจพิสูจน์ต่างๆ ที่นำไปสู่การยืนยันเอกลักษณ์ฟีนาซีแพมในของกลาง ซึ่งจากการตรวจยืนยันของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในครั้งนี้เป็นผลให้คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อควบคุมฟีนาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241594
การตรวจพิสูจน์และยืนยันเอกลักษณ์ยานอนหลับชนิดใหม่ในประเทศไทย : ฟีนาซีแพมในของกลาง
การตรวจพิสูจน์และยืนยันเอกลักษณ์ยานอนหลับชนิดใหม่ในประเทศไทย : ฟีนาซีแพมในของกลาง
ทั้งหมด 72 รายการ