ในปัจจุบัน มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ทั้งด้านชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ และอื่นๆ นำไปสู่การพัฒนาการรักษาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products : ATMPs) , กระบวนการรักษาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อผู้ป่วยเฉพาะราย (Personalized medicine เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาหลายโรคที่ยังไม่มีการค้นพบทางการแพทย์ก่อนหน้า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการคิดค้น พัฒนาวิจัย และการควบคุมคุณภาพ ให้สามารถตอบสนองได้ทันต่อสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น คณะทำงานจัดการความรู้ สำนักยาและวัตถุเสพติด นำโดยเภสัชกรหญิง นางศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้เห็นความสำคัญการควบคุมคุณภาพ ให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล จึงอนุญาตให้จัดโครงการอบรม เรื่อง “การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เซลล์แสดงผลทางภูมิคุ้มกัน (Immune effector cells)” ณ ห้องประชุมตำรายา และทางออนไลน์ผ่านระบบ Application Zoom meeting เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 โดยได้รับเกรียติ์อาจารย์ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ
1.1 ความรู้พื้นฐานของผลิตภัณฑ์เซลล์แสดงผลทางภูมิคุ้มกัน (Immune effector cells)
1.2 แนวทางการกำหนดคุณลักษณะคุณภาพที่สำคัญ (CQA) การประเมิน
เวลา : 9.00 - 12.00 น.
วิทยากร : อาจารย์ ภก.ดร.ชาวี เหล่ามีผล
2. กรณีศึกษาการกำหนด QTPPs และ CQAs และการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เซลล์แสดงผลทางภูมิคุ้มกัน
เวลา : 13.00 - 15.00 น.
วิทยากร : 1) ผศ. ภก. ดร. ณฐพล พรพุทธพงศ์
2) อาจารย์ ภก.ดร.ชาวี เหล่ามีผล
รับชมวิดีทัศน์ได้ที่ : https://drive.google.com/drive/folders/1NK8mucLT2qgSRoqlFsUPqzLZBwrHwBov?usp=sharing